พาทินา-สีสันที่เป็นเอกลักษณ์ของหนังแท้

หนังที่มีพาทินาคืออะไร? ผลิตภัณฑ์จากหนังแท้ เมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลง เกิดเป็นลักษณะของ patina ขึ้น ในทำนองเดียวกันกับวัสดุทองเหลือง ทองแดง ไม้ดิบ หรือหินบางชนิด ที่มีการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวตามอายุและการสัมผัสกับปัจจัยต่างๆ ตัวอย่างเช่น อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ จากครั้งแรกที่จัดสร้างขึ้น เมื่อปี 1886 เทพีเสรีภาพมีสีน้ำตาลแดง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของทองแดง 20 ปีต่อมา แผ่นทองแดงบางๆ ที่ประกอบเป็นชั้นนอกของเทพีเสรีภาพ ได้ทำปฏิกิริยาออกซิเดชันกับอากาศและน้ำ เกิดเป็นชั้นเคลือบสีเขียวที่เป็นเอกลักษณ์ดังที่เห็นในปัจจุบัน คราบสนิมไม่ได้ทำให้รูปปั้นเสียหาย แต่ยังช่วยปกป้องทองแดงที่อยู่ข้างในด้วย การสร้างสารเคลือบผิวหรือพาทินาของหนังพรีเมี่ยมตามธรรมชาติ เป็นการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของหนังอย่างค่อยเป็นค่อยไป สินค้าหนังแท้เมื่อใช้ไปนานๆ สีผิวจะเข้มขึ้น ผิวสัมผัสแวววาวเล็กน้อย นุ่มนวลยืดหยุ่นมากขึ้น และยังมีความพิเศษที่เครื่องหนังแต่ละชิ้น จะพัฒนา patina ในแบบที่แตกต่างกัน ตามสภาพแวดล้อมและการใช้งานของผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ พาทินา คุณค่าและความนิยม หนังแท้เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงอย่างสวยงามได้ตามกาลเวลา การพัฒนาชั้นของพาทินาบนหนังแท้ เกิดจากปัจจัยหลัก 2 กลุ่ม ได้แก่ ลักษณะการใช้งานผลิตภัณฑ์ และสภาพอากาศภายนอก กระบวนการสร้างชั้น patina ของหนังแท้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นลักษณะของการหายใจ ผิวชั้นนอกของหนังแท้จะดูดซับความชื้นและน้ำมันจากอากาศและการสัมผัส การหยิบจับใช้งาน ตัวอย่างผลิตภัณฑ์กระเป๋าถือ ซองนามบัตร […]
เทคนิคการฟอกหนัง

การฟอกหนังก่อนนำไปใช้ผลิตเครื่องหนัง เป็นกระบวนการที่ใช้สารละลายจากธรรมชาติและสารเคมี นำมาปรับปรุงสภาพหนังดิบ (Hide) ให้เป็นหนังแท้ (Leather) ที่มีคุณสมบัติทนทานใช้งานได้นาน พร้อมจะนำไปใช้ตัดเย็บเป็นเครื่องหนังคุณภาพสูง กระบวนการฟอกหนังแบ่งเป็น 2 ประเภทตามสารละลายที่ใช้ฟอกหนัง ได้แก่ สารแทนนินหรือสารฟอกหนังที่ได้มาจากธรรมชาติ (Vegetable tanning) หรือใช้สารเคมีกลุ่มโครเมี่ยม (Mineral tanning) หนังสัตว์ที่นำมาใช้งาน เช่น หนังวัว โดยส่วนใหญ่จะเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ หนังดิบที่ได้จะนำมาเข้ากระบวนการฟอกหนัง เริ่มต้นด้วยการแช่หนังดิบในถังที่มีส่วนผสมของน้ำและสารแทนนินเป็นเวลาหลายวัน แล้วนำออกมาผึ่งให้แห้ง ขัดและเคลือบผิว เพื่อทำให้หนังแท้มีอายุการใช้งานทนทาน รวมทั้งมีคุณสมบัติยืดหยุ่น นุ่มนวล และมีสีสันสวยงาม การฟอกหนังด้วยสารธรรมชาติจากพืช (Vegetable Tanning) กระบวนการฟอกหนังแบบออร์แกนิค ใช้สารฟอกหนังหรือแทนนินที่ได้มาจากธรรมชาติ สารฟอกหนังเหล่านี้พบมากในต้นโอ๊ก Quebracho เกาลัด และมิโมซ่า ซึ่งจะช่วยสร้างเฉดสีหนังให้มีลักษณะเฉพาะ กระบวนการนี้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการฟอกหนังด้วยเคมี และใช้เวลานานประมาณ 30 – 60 วัน ข้อดีของการฟอกหนังแบบออร์แกนิค จะได้หนังที่สีสันสวยงามและมีความทนทานสูง หนังแท้ฟอกย้อมแบบออร์แกนิค เมื่อผ่านการใช้งานไปนานๆ จะมีลักษณะที่เปลี่ยนไปจากหนังผลิตใหม่ ที่เรียกว่าพาทินา (Leather Patina) ผสมผสานสีสันผ่านกาลเวลาและลักษณะการใช้งานเครื่องหนังชิ้นนั้น […]
คุณสมบัติของหนังแท้ชนิดต่างๆ

คุณสมบัติของหนังแท้ชนิดต่างๆ จากกระบวนการฟอกหนัง Full Grain Leather / Corrected Grain Leather / Genuine Leather เมื่อเราพูดถึงหนังแท้ จะหมายถึงหนังที่ได้มาจากสัตว์ นำไปผ่านกระบวนการฟอกย้อมและกระบวนการผลิตผืนหนังสำเร็จ หนังแท้ที่ได้จากธรรมชาติ ส่วนใหญ่นิยมใช้หนังวัว ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ นอกจากนี้เป็นหนังม้า หนังควาย หนังแกะ และ กลุ่มหนังจระเข้ นกกระจอกเทศ หนังงู และปลากระเบน ที่จัดเป็นกลุ่มหนังเอ็กโซติก (exotic leather) กระบวนการฟอกย้อมและผลิตหนังสำเร็จ จำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมตามคุณภาพหนังดิบที่นำมาใช้ สามารถแบ่งเกรดของหนังที่ผ่านกระบวนการฟอกย้อม ความหนาของแผ่นหนัง คุณสมบัติต่างๆ เช่น ความทนทาน ยืดหยุ่น สีสันและลวดลายตามธรรมชาติหรือได้จากการพิมพ์ลาย โดยหนังแต่ละเกรดจะแตกต่างกันตามชั้นของหนัง กระบวนการฟอกหนังและกระบวนการปรับปรุงคุณสมบัติของหนัง หนังฟูลเกรน (Full Grain Leather) เมื่อพูดถึงหนังคุณภาพระดับไฮเอนด์ ซึ่งเป็นที่ต้องการและมีมูลค่ามากที่สุด จะหมายถึง หนัง Full Grain ที่ได้มาจากหนังดิบที่ผิวชั้นนอกสุดมีความสมบูรณ์เต็มผืน หนังฟูลเกรน ผ่านกระบวนการขัดผิวน้อยที่สุด คงเหลือลวดลายและคุณสมบัติหนังแท้ชั้นนอกมากที่สุด หนังชั้นนอกมีความทนทานสูง […]